11111

คำศัพท์คุณภาพ

5368f6acb7088

คำศัพท์คุณภาพ

SPA สรพ. พยายามปรับรูปแบบการประเมินตนเองให้ง่ายขึ้น เป็นรูปธรรมจับต้องได้มากขั้น โดยเปลี่ยนแนวทางการเดิมการเขียนแบบประเมินตนเอง Self Assessmentเป็น SPA โดยแต่ละบทจะมีรายละเอียด มาตรฐาน (ซึ่งมีการขยายความมาตรฐานครอบคลุมแนวคิดที่ทีมงานควรศึกษาให้เข้าใจ) กิจกรรมที่ควรดำเนินการ (เป็นเหมือน GUIDE LINE กิจกรรมอย่างง่ายเป็นประเด็นๆ) และประเด็นที่ควรตอบในแบบประเมินตนเองโดยสรุป (เป็นการเน้นย้ำเนื้อหาสาระที่ทีมงานควรสนใจและตอบให้เห็นภาพในแบบประเมินตนเองเป็นพิเศษ) อีกนัยหนึ่งทำให้ผู้อ่าน SPA สามารถรู้ว่าตนทำได้ระดับไหนเทียบกับมาตรฐานและควรจะทำอะไรอย่างไรเพื่อให้บรรลุตามที่มาตรฐานกำหนดไว้สู่การปฏิบัติอย่างเห็นภาพได้ชัดขึ้น
S = Standard
P = Practice
A = Assessment

SIMPLE คือ Patient Safety Goal เป็นการประมวลแนวทางการป้องกันความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่พรพ.(สรพ.) ได้จัดทำไว้ในปี 2551 เพื่อเป็นแนวทางให้โรงพยาบาลต่าง ๆ วางแผนการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวที่จะสร้างความมั่นใจต่อความปลอดภัยให้กับผู้รับบริการ
S = Safe Surgery
I = Infection Control
M = Medical Safety
P = Patient Care Process
L = Line Tube Catheter Disconnect
E = Emergency Response

3P เป็นแนวทางอย่างง่ายในกระบวนการพัฒนาคุณภาพเรื่องใดเรื่องนึง โดยประกอบไปด้วยทำไมต้องทำคุณภาพเรื่องนั้น , กระบวนการทำ ทำอย่างไรและผลลัพธ์ที่ดีจากการดำเนินการเป็นอย่างไรเหมาะอย่างยิ่งในการสรุปเขียนกระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบหน้าเดียว (One Page Summary)
P = Purpose
P = Process
P = Performance

3C-PDSA เป็นหลักพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพ นำมาจากแนวคิดของ MBNQA/TQA มาสร้างเป็น Model มาสร้างเป็น Model ที่เข้าใจง่าย กล่าวคือ 3C เป็นเรื่องของแนวคิดและการวางแผนในการพัฒนา ส่วน PDSA เป็นการบวนการลงมือทำ
C = Core Value
C = Criteria
C = Context

P D S A = Plan Do Study Act

VSM = Value Stream Mapping หมายถึงแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่าเป็นการวิเคราะห์กระบวนการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งส่งมอบคุณค่าให้แก้ผู้รับผลงานแสดงถึงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน

Appreciative Inquiry หมายถึงการสำรวจ ค้นหา มองหา แก่นด้านบวก (ความสำเร็จนวตกรรม จุดแข็ง โอกาส ความเหนือชั้น) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน (4D)
D = Discovery ค้นหา สิ่งที่เป็นแก่นสารดีๆ ที่เป็นเรื่องราวเชิงบวกขององค์กร (Positive Core)
D = Dream จินตนาการสิ่งที่เป็นไปได้เมื่อองค์กรสามารถทำได้ดีที่สุด
D = Design ออกแบบ สร้างข้อเสนอที่กระตุ้น เสริมพลังให้ทำในสิ่งที่ไม่ธรรมดา
D = Destiny จุดหมายปลายทาง ช่วยผู้นำพัฒนาทักษะที่จำเป็นวางโครงสร้างพื้นฐานระบบงาน เพื่อเคลื่อนไปข้างหน้า

SIPOC Model เป็นกรอบแนวคิดการตอบสนองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยพิจารณาว่าใครคือลูกค้า ลูกค้ามีความต้องการอะไรเราจะตอบสนองความต้องการนั้นได้อย่างไรใช้กระบวนที่เหมาะสมเป็นอย่างไรที่คุ้มค่าคุ้มทุน ปัจจัยนำเข้า และผู้ส่งมอบคือใครความจริงแล้ว น่าเปลี่ยนเป็น COPIS มากกว่าเพราะเป็นการมองผู้รับผลงานเป็นตัวตั้ง
S = Suppliers
I = Input
P = Process
O = Outputs
C = Customers

BHAG หมายถึงเป้าหมายที่อาจหาญ ยิ่งใหญ่ และสุ่มเสี่ยงแต่เป็นประเด็นที่ท้าทายองค์กร ถ้าทำสำเร็จจะเกิดผลลลัพธ์ที่ฝันอยากจะเห็นใน อีก 20 – 30 ปีข้างหน้า
B H A G = Big Hairy(Risky) Audacious Goal

GROW Model หมายถึงโมเดลการเป็นโค้ชอย่างง่าย ๆ เป็นแนวทางการพูดคุย จับประเด็นและ Empower ให้กับทีมงานที่จะต่อยอดสู่เป้หมายได้เร็วและง่ายขึ้นโดยใช้วิธีการมองหาแก่นด้านบวกนำมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย (AI = 4D) ดูคำอธิบายด้านบนก่อนหน้านี้
G = Goal อยากเห็นผลอะไร
R = Reality ก าลังเกืดอะไรอยู่ในปัจจุบัน
O = Option จะทำอะไรได้บ้าง
W = Wrap Up ตัดสินใจจะทำอะไร

EI3O เป็นการให้คะแนนเพิ่มสำหรับกระบวนการพัฒนาคุณภาพเรื่องใดเรื่องนึงโดยมุ่งเน้นการเพิ่มคะแนนที่ผลลัพธ์ จากคะแนนที่ได้มาจากการประเมินอย่างง่าย 1-3 (1 = เพิ่งเริ่มทำในเรื่องง่าย , 2 = ระบุที่มาของปัญหาปัญหาสำคัญของเรื่องนั้น ๆ โดยมีการวางระบบงาน เริ่มนำไปปฏิบัติ , 3 = มีการปฏิบัติในพื้นที่ส าคัญอย่างถูกต้อง เหมาะสม ครบถ้วนเห็นผลของการบรรลุเป้าหมายข้อกำหนด) นำคะแนนแต่ละข้อย่อยมาถ่วงน้ำหนักและหาค่าเฉลี่ยรวมของหัวข้อ จากนั้นพิจารณาเกณฑ์ EI3O มาเพิ่มคะแนนด้านผลลัพธ์ ซึ่งคะแนนเต็ม 4.95 (ใกล้เคียงกับ 5) ถ้าโรงพยาบาลเข้าใจการให้คะแนนแบบนี้น่าจะทดลองคะแนนตนเองดูดังนี้
Evaluation and Improvement เพิ่ม 5-15%
Integration เพิ่ม 5-10%
Innovation เพิ่ม 5-10%
Outcome เพิ่ม 10-30%

4 วง 6 Track 8Tracing
แนวคิดการติดตามรอยกับการประเมินตามมาตรฐานตอนที่ 3 (Patient Care Process) หลายคนคนคุ้นเคยกับ 4 วงที่ประกอบด้วย วงหน่วยงาน วงกลุ่มผู้ป่วย วงระบบงานและวงใหญ่สุดคือวงองค์กร ตอนนี้ สรพ.ได้ใช้การตามรอย (Trace) แต่ละวงโดยแบ่งออกเป็น 6 Track 8 Tracing ดังนี้
วงหน่วยงาน ประกอบด้วยหนึ่งแทรค
Track ที่ 1. Unit Optimization เป็นการตามรอยคุณภาพของแต่ละหน่วยงานให้หน่วยงานได้มีการวิเคราะห์หน่วยงานตนเองเพื่อหาโอกาสพัฒนาด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า การวิเคราะห์และจัดทำบัญชีความเสี่ยง (risk profile) การวิเคราะห์กระบวนการหลัก การทบทวน 12 กิจกรรมทางคลินิก
วงกลุ่มผู้ป่วย ประกอบด้วยสองแทรค
Track ที่ 2. Patient Safety ซึ่งจะประกอบด้วยการตามรอย AEอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์
และตามรอย SIMPLEโดยวิธีนี้จะเอา Evidence Base ของ SIMPLE เป็นตัวตั้ง
Track ที่ 3. Clinical Population โดยTrace นี้เน้นกลุ่มโรคของผู้ป่วย โดยจะตามรอย Clinical Tracerใช้กระบวนการออกแบบดูแลผู้ป่วย ไปตามรอย
และตามรอยผู้ป่วยแต่ละรายเหมือนกับการสะกดรอยตามรอยการดูแลรักษาผู้ป่วยจริงๆ
วงกลุ่มระบบงาน ประกอบด้วยหนึ่งแทรค
Trace ที่ 4. Standard Implementation ซึ่งจะตามรอยมาตรฐาน และ SPA
วงกลุ่มองค์กร ประกอบด้วยสองแทรค
Trace ที่ 5. Strategic Management ตามรอยแผนกลยุทธ์
Trace ที่ 6. Self Assessmentตามรอยการประเมินตนเอง
ลองฝึกซ้อมตามรอยให้ครบทั้ง 6 Track 8 Trace จะท าให้ทีมงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพและการเฝ้าระวังความเสี่ยงได้ดีขึ้น

Gap analysis
การวิเคราะห์ความแตกต่าง หมายถึง การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างข้อแนะนำทางวิชาการกับสิ่งที่ปฏิบัติจริง ซึ่งจะนำมาสู่การลดความแตกต่างดังกล่าว เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมการนำข้อมูลวิชาการมาสู่การปฏิบัติ

HA
Hospital/healthcare accreditation การรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล/สถานพยาบาล เป็นการรับรองว่าโรงพยาบาล/สถานพยาบาลจะต้องมีการเตรียมตัวด้วยการประเมินและพัฒนาตนเอง รวมทั้งยินดีที่จะให้มีการเยี่ยมสำรวจจากภายนอก

HPH
Health promoting hospital โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง โรงพยาบาลที่นำแนวคิดและมาตรฐานเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพมาสู่การปฏิบัติ ในความหมายเฉพาะ อาจหมายถึงโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองว่าปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

Humanized healthcare

บริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ บริการที่เคารพในคุณค่า ศักดิ์ศรีและศักยภาพของผู้ป่วย ด้วยความรักในเพื่อมนุษย์ นำไปสู่สุขภาวะของบุคคล ครอบครัว ชุมชน เข้าถึงความจริง ความดี ความงาม ก้าวสู่อิสรภาพ เชื่อมโยงมนุษย์และสรรพสิ่ง
Lean
ลีน แนวคิดการบริหารงานที่มุ่งขจัดความสูญเปล่าทุกด้าน เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ผู้รับผลงานต้องการ

PSG
Patient Safety Goals/Guides เป้าหมายความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยและแนวทางเป็นประเด็นความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่มีความสำคัญซึ่งควรใส่ใจพร้อมทั้งแนวทางการดูแลอย่างปลอดภัยที่มาจากข้อมูลวิชาการ

R2R
Routine to Research การวิจัยจากงานประจำ เป็นการนำปัญหาจากการปฏิบัติงานประจำมาหาคำตอบด้วยกระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพ มีเป้าหมายเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ปรับปรุงการทำงาน

RCA
Root cause analysis การวิเคราะห์สาเหตุเบื้องลึก เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาอย่างได้ผล โดยมากมักจะเป็นปัจจัยเชิงระบบหรือปัจจัยในระดับองค์กร

risk
ความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิดอันตราย ความสูญเสียหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

Service profile
โครงร่างหน่วยงาน/หน่วยบริการ เป็นข้อมูลสำคัญที่แสดงภาพรวมของหน่วยงาน/หน่วยบริการ ครอบคลุมบริบท เป้าหมาย กระบวนการ และผลการดำเนินการ

TQA/MBNQA
Thailand Quality Award/Malcolm Baldrige National Quality Award เป็นชื่อรางวัลคุณภาพแห่งชาติของไทยและของอเมริกา ซึ่งใช้เกณฑ์และหลักการเดียวกัน
Trigger tool
เครื่องมือส่งสัญญาณ หมายถึงเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้เราฉุกใจคิดว่าอาจจะมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น นำมาใช้เพื่อการทบทวนเวชระเบียนหาเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
Unit optimization
การพัฒนาคุณภาพในระดับหน่วยงาน เป็นการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมไม่เบียดเบียนหรือตัดโอกาสของหน่วยงานอื่น
3C – PDSA:
หลักคิดพื้นฐานของการพัฒนาซึ่ง HA นำแนวคิดของ MBNQA / TQA มาสร้างเป็น model ที่เข้าใจง่าย 3C เป็นเรื่องของการคิดและวางแผน PDSA เป็นเรื่องของการลงมือทำ C ทั้งสามได้แก่
(1) core values & concepts
(2) criteria
(3) context PDSA หมายถึง plan-do-study-act
3P :
แก่นของการพัฒนาง่ายๆ ซึ่งสามารถใช้ได้กับการพัฒนาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับงานประจำไปถึงการบริหารองค์กร P ทั้งสามได้แก่ purpose-process-performance เป็นการนำหลักคิด 3C-PDSA มาใช้ให้ง่ายขึ้นโดยใช้ purpose เป็นผลสรุปรวมของ 3C และ process กับ performance ก็คือ PDSA นั่นเอง

4 domains:
พื้นที่ของการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
(1) หน่วยบริการหรือหน่วยงาน
(2) กลุ่มผู้ป่วย
(3) ระบบงาน
(4) องค์กร การแบ่งพื้นที่เช่นนี้ทำให้สามารถตรวจสอบความครอบคลุมของการพัฒนาได้ง่าย วางแผนจัดการเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อน ใช้เครื่องมือและเส้นทางการพัฒนาที่เฉพาะเจาะจงสาหรับพื้นที่แต่ละประเภท

ADE: Adverse drug event ภาวะไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ดู AE ร่วมด้วย)
AE:
Adverse event เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หมายถึง การบาดเจ็บ อันตราย หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการดูแลรักษา มิใช่กระบวนการตามธรรมชาติของโรค ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น หรืออวัยวะในร่างกายต้องสูญเสียการทำหน้าที่

C3THER
เครื่องเตือนใจในการทบทวนการดูแลที่ข้างเตียงผู้ป่วยว่าควรนึกถึงประเด็นอะไรบ้างประกอบด้วย care, communication, continuity, team, human resource, environment & equipment , medical record ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะมีจุดเน้นของการทบทวนที่แตกต่างกัน
Clinical tracer
การตามรอยทางคลินิก เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยมีการตามรอยหรือทบทวนในสี่ประเด็น ได้แก่
(1) กระบวนการดูแลผู้ป่วย
(2) ผลงานที่เกิดขึ้น
(3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพ
(4) การเชื่อมต่อกับระบบที่เกี่ยวข้อง การตามรอยนี้จะทำให้เห็นวิธีการปฏิบัติที่ดีหรือโอกาสพัฒนา เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับทีมดูแลผู้ป่วย

CQI
Continuous Quality Improvement การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง อาจจะหมายความถึงโครงการพัฒนาแต่ละโครงการ หรือแนวคิดการพัฒนาที่พยายามหาโอกาสพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่มีปัญหาก็ตาม ซึ่งจะส่งผลให้มีการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายขึ้นเป็นลำดับ ไม่ใช่เป้าหมายที่คงที่

SHA
Sustainable Health Care & Health Promotion by Appreciation and Accreditation
มิติแห่งคุณภาพ หรือ มิติต่าง ๆ ของเครื่องชี้วัดคุณภาพ = (3A 3E 2C 1S)
Acceptability การบริการที่เป็นที่ยอมรับ ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ
Appropriateness บริการมีความเหมาะสม ไดตามมาตรฐาน และสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ
Accessibility สามารถเข้าถึงบริการง่าย มีให้บริการเมื่อจำเป็น
Effectiveness บริการมีประสิทธิผล ได้ผลกรบริการหรือผลการรักษาที่ดี
Efficiency บริการมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
Equity/Patient Right มีความเท่าเทียมกันในการรับบริการ
Competency ผู้ให้บริการมีความรู้ความสามารถ
Continuity ความต่อเนื่องในการให้บริการ หรือการดูแลรักษาพยาบาล
Safety บริการมีความปลอดภัย ไม่เกิดอันตรายหรือผลแทรกซ้อน
การทบทวนการดูแลผู้ป่วยกับแนวคิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ = (H-E-L-P )
Holistic : เราดูแลมิติด้านจิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม ของผู้ป่วยดีแล้วหรือไม่ อย่างไร
Empowerment : เรา empower ผู้ป่วยและครอบครัวอย่างไร ได้ผลและเพียงพอ หรือไม่
Lifestyle : จะเตรียมผู้ป่วยอย่างไรจึงจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ โดยสอดคล้อง กับวิถีชีวิตและข้อจำกัดเรื่องสิ่งแวดล้อมPrevention and Patient Right : เราวางแนวทางป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยรายนี้อย่างไรจะป้องกันคนอื่นอย่างไร และการคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือไม่
การตรวจเยี่ยมหน่วยงาน (สนับสนุน) = EFIRE
Environment = สิ่งแวดล้อมทางกายภายที่ดี 5 ส. ความร้อน แสงสว่าง การถ่ายเทอากาศ เส้นทางหนีไฟ ถังดับเพลิง ฯลฯ
Flow = การไหลเวียนของกระบวนการทำงาน มีการวิเคราะห์ กระบวนการหลัก
IC = เทคนิคการปฏิบัติงานถูกต้องตามหลักการ IC มีการแยกขยะ การล้างมือ การป้องกันตนเอง ใช้ UP การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
Risk = ความเสี่ยงด้านโครงการ (กายภาพ) มีการจัดทำบัญชีความเสี่ยง (Unit Profile)
Equipment = เรื่องเครื่องมือมีระบบการจัดเก็บเหมาะสม สะดวกต่อการนำมาใช้ การทำความสะอาด การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง = (PDCA)
Plan = พิจารณาจากการมีเป้าหมายที่ชัดเจน วางแผน ออกแบบอย่างเป็นระบบ
Do = มีการปฏิบัติตามระบบที่กำหนดไว้
Check = การประเมินผลและผลลัพธ์ พิจารณาจากการรับฟังสียงสะท้อน ความเหมาะสมเพียงพอของเครื่องชี้วัด
ACT = การทบทวนผลลัพธ์และพัฒนาในประเด็นที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย
การเยี่ยมสถานที่ = FORCEDIPP
Flow = การไหลเวียน, การถ่ายเทอากาศ , ความแออัดในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
Odor = ความสะอาดและปราศจากกลิ่น
Risk = ความเสี่ยงทางกายภาพของหน่วยงาน
Convenience = ความสะดวกสบาย และ 5 ส
Equipment = การดูแลรักษาเครื่องมือ
Drug = การบริหารจัดการยา เช่น Stock ยา , การเก็บ High Alert Drug
Infection Control = การแยกเก็บขยะ , การจัดการสารปนเปื้อน , ห้องแยกติดเชื้อ ,การล้างมือ
Patient = ความพึงพอใจของผู้รับบริการ , การได้รับข้อมูล ,การดูแลแบบ Holistic Care
Personal = บรรยากาศการทำงาน ,ความเครียด ของเจ้าหน้าที่ , การทำงานเป็นทีม
การให้ข้อมูลผู้ป่วย = (หลัก 5 I)
Information = ผู้ป่วยได้รับการบอกเล่าเกี่ยวกับโรค แนวทางการรักษาและทางเลือก ระยะเวลา ฯลฯ
Inform Consent = ได้รับข้อมูลอะไรบ้างก่อนลงนามยินยอมรับการรักษา
Investigation = ได้รับการอธิบายผลการชันสูตรที่สำคัญอย่างไรบ้าง
Identification = มีการถามชื่อผู้ป่วยก่อนการให้ยา ฉีดยา เอกซเรย์ ผ่าตัด ฯลณ
Invasive Procedure = ได้รับการเตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะต้องรับการผ่าตัดหรือทำ Invasive Procedure
การใช้เวชระเบียนเป็นตัวตั้งในการประเมินการดูผู้ป่วย = ASPIREED
Assessment = การประเมินผู้ป่วยการวินิจฉัยโรค และข้อมูล สนับสนุนการวินิจฉัยโรค
Plan = การวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วย
Implement = การปฏิบัติตามแผน
Record / Evaluate = การบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย สิ่งที่ทำกับผู้ป่วยพร้อมเหตุผล
Educate = การให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
Discharge = การเตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถดูแลตนเองได้
กรอบการวิเคราะห์ RCA ตามกรอบ อ.อนุวัฒน์ = RE HELP IC
1. Information
2. Education
3. Communication
4. Human Capital
5. Environment / Equipment
6. Process Design/ Process control and Monitor
7. RM.
8. Leadership and Culture

Discharge Planning = M-E-T-H-O-D Model
M (Medication) ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับยาที่ตนเองได้รับ
E (Environment & Economic) ผู้ป่วยได้รับความรู้ในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม กับสภาวะสุขภาพ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน การจัดการเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
T (Treatment) ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจเป้าหมายของการรักษา สามารถสังเกตอาการของตนเอง และรายงานอาการที่สำคัญให้แพทย์/พยาบาลทราบ มีความรู้พอที่จะจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้วยตนเอง อย่างเหมาะสมก่อนมาถึงสถานพยาบาล
H (Health) ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจภาวะสุขภาพของตน เช่น ข้อจำกัด ผลกระทบจากการเจ็บป่วย และสามารถปรับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ให้เหมาะสมกับข้อจ ากัดด้านสุขภาพ เอื้อต่อการฟื้นฟูสภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
O (Outpatient Referral) ผู้ป่วยเข้าใจและทราบความสำคัญของการมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือ เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งการส่งต่อสรุปผลการรักษาและแผนการดูแลผู้ป่วยให้กับหน่วยงานอื่น ที่จะรับช่วงดูแลต่อ
D (Diet) ผู้ป่วยเข้าใจและสามารถเลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสมกับภาวะ และข้อจำกัดด้านสุขภาพ

กิจกรรม 5 ส.
1. สะสาง (SEIRI) คือ การแยกของที่ต้องการ ออกจากของที่ไม่ต้องการ และขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
2. สะดวก (SEITON) คือ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
3. สะอาด (SEISO) คือ การทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน
4. สุขลักษณะ (SEIKETSU) คือ สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดีตลอดไป
5. สร้างนิสัย (SHITSUKE) คือ การอบรม สร้างนิสัย ในการปฏิบัติงานตามระเบียบ วินัย ข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
ค าย่อเกี่ยวกับงานคุณภาพ
QC = Quality Control
QA = Quality Assurance = Assess + Correct/Prevent
QI = Quality Improvement
PI = Process Improvement/Performance Improvement
QM = Quality Management
CWQC = Compant-wide Quality Control
TQC = Total Quality Control/Commitment
TQM = Total Quality Management
TQS = Total Quality Service
CQI = Continuous Quality Improvement
กรอบแนวคิด HA/TQA (มาตรฐานใหม่)HA/TQI Framwork ( Input) = C- C- C
C = Context บริบท
C = Concept หลักการและค่านิยมขององค์กร
C = Criteria รู้มาตรฐาน / ทำความเข้าใจเป้าหมายของมาตรฐาน
HA/TQI Framwork ( Process ) = A- D- L- I
A = Approach มีการกำหนดระบบ กำหนดแผน / ดำเนินการอย่างเป็นระบบครอบคลุม Multiple Requirements
D = Deploy มีแนวทางการสื่อสารสู่การปฏิบัติ ครอบคลุมทั้งแนวลึกและแนวกว้าง
L = Learning มีการทบทวนและการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง
I = Intregration ระบบมีบูรณาการ / สอดประสานกัน ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน
HA/TQI Framwork ( Result) = K- L-T- C- S

K = KPI ตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานหลัก (ตัวชี้วัดที่มีความสำคัญมีการวัดผลครบถ้วนสม่่ำเสมอ)
L = Level ระดับของผลลัพธ์ที่ได้ บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่
T = Trend แนวโน้มของผลลัพธ์ดีขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่
C = Compair เปรียบเทียบกับคู่แข่งที่เก่งที่สุด เราดีกว่าหรือไม่
S = Segment ได้ผลลัพธ์ดีในทุกกลุ่มหรือไม่

Sentinial Event (เหตุการณ์พึงสังวรณ์) = COMBS- FACE
C = Communication
O = Operation
M = Medication Error
B = Blood Transfusion
S = Solution
F = Fall
A = Alarm System
C = CPRE = Ethic + การระบุตัวผู้ป่วย

Share